วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ขอเชิญพุทธศาสนิกขน ร่วมพิธีสวดมนต์ข้ามปี คืนวันที่ 31ธันวาคม 2559 ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ครอบครัว และคนใกล้ชิด บูชาผ้ายันต์ พระมหาจักรพรรดิ์
วัดนางนองฯ ได้จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก ได้อัญเชิญพระพุททมหาจักรพรรดิ์ พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระประธานภายในพระอุโบสถวัดนางนองฯ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดได้กราบ ผู้ใดได้ไหว้ ผู้ใดได้ขอพร ผู้นั้นจะสมความปรารถนา ในสิ่งที่คิด ในสิ่งที่หวังทุกประการ และจะเป็นผู้ที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ปราศจากภัยพิบัติอันตรายใดใดทั้งปวง ท่านจะดลบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้ ขอพร สมความปรารถนาด้วย ลาภผล พูนทวี มั่งมี ศรีสุข อายุยืน ร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐีตลอดกาล
ผ้ายันต์พุทธมหาจักรพรรดิ์ ประกอบด้วย พระพุทธมหาจักรพรรดิ์เป็นประธาน อมตเถระ 2 องค์ หลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยม ยันต์ 5 ยันต์ธงชัยนวหรคุณ ยันต์พิชัยสงคราม ยันต์พระอาทิตย์ ยันต์พระจันทร์ ยันต์พระนารายณ์ทรงครุฑประทับยืนบนพระราหู ทั้งหมดมี 4 สี สีแดง ความหมาย คือสีแห่งพระอาทิตย์ ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลเวลากลางวัน เรื่องของยศตำแหน่งหน้าที่การงาน ความมั่งคั่งความร่ำรวย มีอมตวาจาที่กล่าวกันไว้ว่า จะยากดีมีจนต้องแดงไว้ก่อน
สีเหลือง เป็นแห่งพระจันทร์ ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลเวลากลางคืน มีความหมายว่า ผู้ใดมีไว้อยู่ในความครอบครองผู้นั้นจะมีความสุข ความสบาย ความอยู่เย็นเป็นสุข ความสวยความงานคงทนต่อไป แบบไม่มีเหตุผล สีขาว เป็นสีของประธานนพเคราะห์ มีความหมายว่า ท่านจะมีฤทธิ์ มีเดช มีบารมี มีอำนาจ สีน้ำเงิน เป็นสีของการรับทรัพย์ มีแล้วทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย จะเข้ามาโดยหาสาเหตุไม่ได้ ผ้ายันต์ทุกผืนมีหมายเลข บูชาได้ที่ วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
วัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตบางขุน เทียน จะเห็นได้จากที่ตั้งวัดวัสดุการ ก่อสร้างวัด ปูชนียวัตถุ ล้วนแต่มี การก่อสร้างอย่างประณีตบรรจง เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระปรางค์ พระเจดีย์ ตลอดจน พระประธานทรงเครื่องใน พระอุโบสถ วัดนางนองนี้ เดิมอยู่ริมคลองด่าน การสัญจร ไปมาใช้เส้นทางคลอง ด่านเป็นหลัก หน้าวัดจึงได้หันสู่ คลอง ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก มิได้หันไปทาง ทิศตะวันออก แต่ต่อมาเมื่อมีการตัดถนน การสัญจรทางน้ำลดความสำคัญ ลง สภาพของก็เปลี่ยนไป ทางเข้าวัดได้ เปลี่ยนมาเป็นทางด้านถนน วุฒากาศ
การก่อสร้างวัดนี้ ไม่มีหลักฐาน แน่ชัดว่าเริ่มสร้างในสมัยใด สันนิษฐานจากรูปแบบของศิลปะ ที่พบในวัด ควรจะสร้างขึ้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2375 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อของเก่าแล้ว ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ดังจะเห็นได้จากพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาหน้า วัดล้วนเป็นทรงเก๋งจีน พร้อมทั้งศิลปกรรมที่ปั้นลม หน้าบัน ประตู หน้าต่าง พระประธานในพระอุโบสถพร้อมทั้งลายฝาผนังลายรดน้ำ รูปทรง ศิลปะไทยจีนประยุกต์ รัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะวัดนางนองนี้
เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ชื่อว่า บางนางนอง ซึ่งเป็นนิวาสสถาน เดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมรดาเรียม พระราชชนนีของท่าน ก่อนที่ตระกูลของสมเด็จพระศรี สุลาลัยจะย้ายข้ามคลองไปตั้งถิ่น ฐานบริเวณวัดหนัง ใช้เวลา ปฏิสังขรณ์หลายปีจึงแล้วเสร็จได้ สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทางชลมารคไปประกอบพิธี ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถใน วันที่19 พ.ย.2385 วัดนางนองนี้ เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่วัดหนึ่งหันไปทางทิศตะวันตกตามทางสัญจร คือคลองด่านสิ่งปลูกสร้างแบ่ง เป็นเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส เขตพุทธวาสมีถาวรวัตถุ พระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงเครื่อง โดยมีแผนผังตามแนวแกนหลัก คือ พระอุโบสถเป็นประธานของวัด อยู่ด้านหลังสุด หน้าพระอุโบสถ มีเจดีย์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ด้านซ้ายและขวาของเจดีย์มีวิการ คู่ ส่วนของวิหาร ทั้งสองหลังยังมี เจดีย์ทรงปรางค์ตั้งอยู่ด้านหลังและมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ลักษณะของผังแบบนี้ ถือเป็น รูปแบบหนึ่งของงานสร้างวัดใน สมัยรัชกาลที่ 3
พระพุทธมหาจักรพรรดิ
พระประธานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธรูปสำริดปิดทอง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยพระนาม “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” พระพักตร์พุทธศิลป์อย่าง สมัยสุโขทัยหน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร เครื่องทรงที่ ประดับทุกชิ้นแยกออกจากองค์ พระ สวมทับลงไว้ ประดิษฐาน อยู่บนฐานชุกชีปั้นลายปิดทอง ประดับกระจก เป็นงาน ประติมากรรมชิ้นเยี่ยมใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีความงามวิจิตรอลังการปลูกความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เข้ามาสักการะ มีประวัติสำคัญ คือได้มีการนำมงกุฎของ พระพุทธรูปที่วัดนางนองไป ประดิษฐานยังยอดของตรีศูล พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม ภายหลังจึงมี การสร้างถวาย คืนให้ในรัชกาล ของพระองค์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 098-5454762